Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1065
Title: A STUDY OF THE ROLE OF ADMINISTRATORS IN PROMOTING LEARNING MANAGEMENTBY THE LEARNER-CENTERED APPROACH BASED ON THE OPINIONS OF THE TEACHERSUNDER LAMPHUN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 2
การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
Authors: Phonnipha Prasopsong
พรนิภา ประสพสงค์
Natthawut Sabphaso
ณัฐวุฒิ สัพโส
University of Phayao
Natthawut Sabphaso
ณัฐวุฒิ สัพโส
natthawut.sa@up.ac.th
natthawut.sa@up.ac.th
Keywords: บทบาทของผู้บริหาร
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
The role of the school administrator
Leaning management by the learner-centered
Issue Date:  20
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research has objectives, To study and compare teachers' opinions on the role of school administrators in promoting by the learner-focused teaching and learning. Under the jurisdiction of Lamphun Primary Educational Service Area Office 2, classified by gender. and experience. The sample group includes teachers under the supervision of The sample size was determined using the Krejcie and Morgan formula (Krejcie & Morgan, 1970), with a total of 244 people using a stratified sampling method. Using schools to divide classes Then use it to determine the proportion. According to the number of population in each school and perform simple sampling by using a questionnaire as a tool The reliability of the whole test was 0.77. Data were analyzed using percentages, means, and standard deviations. T-test (t-test independent) and one-way analysis of variance (One-Way Analysis of Variance). When statistical differences were found, the mean differences were tested on a pairwise basis. Using the Scheffe' method, the study found that 1) the role of executives Overall, it is at the highest level. The side with the highest average is Media management and learning resources Next is the evaluation aspect. And the area with the lowest average is the area of teacher and personnel development. 2) Compare opinions by gender. It was found that overall and each aspect There was no statistical significant difference and when compared by work experience it was found that overall there was no difference. When considering each aspect, it was found that the evaluation aspect There is a difference. Statistically significant at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยจำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสังกัด กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้จำนวน 244 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้โรงเรียนในการแบ่งชั้น แล้วนำมากำหนดสัดส่วน ตามจำนวนของประชากรในแต่ละโรงเรียน และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบองค์ประกอบเดียว (One–Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างทางสถิติได้ทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe' method) จากการศึกษา พบว่า 1) บทบาทของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดการสื่อและแหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือด้านการประเมินผล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นโดยจำแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมและ รายด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเปรียบเทียบโดยจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประเมินผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1065
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65204557.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.