Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1019
Title: The development of Scientific literacy by STEM education overlap Socio-Scientific Issue in the topic greenhouse effect of grade 6 students
การพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: Pimpakan Labutdee
พิมพกานต์ ลาบุตรดี
Arpapun Prathumthai
อาภาพรรณ ประทุมไทย
University of Phayao
Arpapun Prathumthai
อาภาพรรณ ประทุมไทย
arpapun.pr@up.ac.th
arpapun.pr@up.ac.th
Keywords: การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา
ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
Scientific literacy
STEM education
Socio-scientific issue
Issue Date:  20
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aimed to 1) to study the development of scientific literacy of grade 6 students before and after learning by STEM education overlap Socio-Scientific Issue in the topic greenhouse effect. 2) to compare the science literacy of grade 6 students before and after the learning by STEM education overlap Socio-Scientific Issue in the topic greenhouse effect. the research design was One Group Pretest-Posttest Design. The sample consisted of sixth grade students’ primary schools in Chun 2 School Group under the Phayao Primary Educational Service Area Office 2 Semester 2, Academic Year 2023 total 32 students. by a cluster sampling technique. The research instruments consisted of: 1) the lesson plans toward the STEM education overlaps Social-Science Issue learning 2) The scientific competency test and 3) The attitudes towards science assessment. The data were analyzed using average, percentage, standard deviation, and dependent sample t-test. The research results were found as follows; 1) The effects of the study on the development of scientific literacy of grade 6 students before and after learning by STEM education overlap Socio-Scientific Issue in the topic greenhouse effect. Found as students' scientific literacy after learning was at level 3, with a mean percentage of 58.97, When considering the list of scientific competencies, it was found that with the highest mean score in the ability to explain scientific phenomena and students' attitudes towards science after studying at a high level. with the highest mean score in environmental awareness. 2) The comparison effects of the scientific literacy of grade 6 students before and after learning by STEM education overlap Socio-Scientific Issue in the topic greenhouse effect. Found as students' science literacy and students' attitudes towards science after learning was significantly higher than before learning at a statistical significance level of 0.05
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก  2) เปรียบเทียบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก  รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนจุน 2 สังกัด สพป.พะเยา เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าที (dependent sample t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาการพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก พบว่า นักเรียนมีการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับ 3 โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 58.97 เมื่อพิจารณารายสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ พบว่า สมรรถนะความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นมากที่สุด และนักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เฉลี่ยหลังเรียนอยู่ในระดับมาก โดยด้านความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก พบว่า นักเรียนมีการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1019
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64205568.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.