Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1017
Title: THE DIGITAL COMPETENCY DEVELOPMENT MODEL TO PROMOTELEARNING MANAGEMENT FOR PRIVATE SCHOOL ADMINISTRATORS
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน
Authors: Asanee Porananond
อัสนี โปราณานนท์
santi Buranachart
สันติ บูรณะชาติ
University of Phayao
santi Buranachart
สันติ บูรณะชาติ
santi.bu@up.ac.th
santi.bu@up.ac.th
Keywords: รูปแบบ
การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล
ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน
Model
Digital Competency Development
Private School Administrators
Issue Date:  20
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purpose of this research is to present a model of digital competency development to promote learning management for private school administrators. The research was conducted in three steps as follows. First, studying the elements and guidelines of digital competencies development to promote learning management for private school administrators from analysis of relevant documents, questionnaires, and interview the experts. The data were analysed by content analysis, mean, standard deviation and confirmatory factor analysis. Second, constructing and examining the propriety of the model through focus group discussion. The data were analysed by mean, standard deviation and content analysis. Third, evaluating the model through questionnaires. The data were analysed by mean and standard deviation. The research showed that the model of digital competency to promote learning management development for private school administrators consisted of five components: 1) the principles, 2) the objectives, 3) the scope of digital competency elements, 4) the digital competency development guidelines, and 5) key success factors. The result of the propriety assessment of the model indicated by the experts was at the highest level. The result of the feasibility assessment by the private school administrators was at a high level, while the utility assessment was considered at the highest level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบและแ นวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน โดยการสังเคราะห์เอกสาร การสอบถาม และการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน โดยผู้วิจัยยกร่างรูปแบบ และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของ รูปแบบโดยผู้บริหารโรงเรียนเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 2) วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 3) ขอบข่ายของสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน และ 5) ปัจจัย สู่ความสำเร็จการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ส่วนผลการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมิน โดยผู้บริหารโรงเรียนเอกชนมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1017
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64204815.pdf5.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.