Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/100
Title: A Development of Mathematics Instructional Activites on Addition and Subtraction of Numbers with Results,Augend and Minuend not More than 20 For Prathom Suksa1, Based on QSCCS Model
การพัฒนากิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดยใช้รูปแบบ QSCCS
Authors: Wimol Manop
วิมล มานพ
Ketsaraphan Punsrikate Khongcharoen
เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ
University of Phayao. School of Education
Keywords: การพัฒนากิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์, การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์ตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, การเรียนการสอนแบบ QSCCS
Mathematics teaching development Addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 The Pathom Suksa 1 student QSCCS teaching technique
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aimed 1) to create and evaluate the efficiency of teaching process on addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 for the Prathom Suksa 1 students with QSCCS technique to achieve the standard 80/80. 2) to compare the pretest-posttest of achievement of the Prathom Suksa 1 students who learning on addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 with QSCCS technique 3) to study the student’s satisfaction toward the learning process on addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 with QSCCS technique in the 1st semester of academic year 2018 at Tedsaban 1 Watpromwiharn School, Maesai District, Chiang Rai Province. The populations were 5 Prathom Suksa 1 classrooms with 200 students. The samples were 40 of Prathom Suksa 1/1 students selected by Cluster sampling. The main contents of this study was an addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20. The instruments of this study consisted of 1) QSCCS technique teaching plan 2) Practices on addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 3) 10 items of achievement test and 4) Student’s satisfaction evaluation form toward the learning on addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 with QSCCS technique. Data were analyzed by using percentage, arithmetic mean, and standard deviation and t- test. The results of the study were as follows: 1) QSCCS technique teaching plan on addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 for the Prathom Suksa 1 students had the efficiency at 88.94/85.96 to achieve the standard 80/80 2) The student’s archievement between before and after learning on addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 with the QSCCS technique had statistically significant difference at .01 3)The satisfaction of Pathom Suksa 1 students toward the learning process on addition and subtraction of number of which results and subjects not exceeding 20 with QSCCS technique were overall at a highest satisfaction level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ QSCCS ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียน เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 โดยใช้รูปแบบ QSCCS 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนเรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 โดยใช้รูปแบบ QSCCS ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย  จำนวน 200 คน จากจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 5 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 40 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ QSCCS แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 10 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบ QSCCS ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และt–test ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ QSCCS ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.11/86.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ QSCCS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ QSCCS ในภาพรวมอยู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed. (Curriculum and Instruction))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/100
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59170440.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.