Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/994
Title: THE ADMINISTRATIVE MODEL FOR THE DEVELOPMENT OF STUDENT SUPPORT SYSTEM IN SCHOOLS UNDER THE BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION
รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
Authors: Phusanisa Karawapong
ภูษณิศา คารวพงศ์
Vipaporn Poovatanakul
วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล
University of Phayao
Vipaporn Poovatanakul
วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล
vipaporn.po@up.ac.th
vipaporn.po@up.ac.th
Keywords: รูปแบบการบริหาร
ความสำเร็จ
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
Administrative Model
Achievement
Student Support System
Issue Date:  20
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research used qualitative and quantitative methods were to : 1) Study the causal factors for the success of student care and support systems in schools under the jurisdiction of Bangkok Metropolitan Administration, 2) Examine the consistency of the causal factor model of the student care and support system in schools under Bangkok Metropolitan Administration with empirical data, and 3) evaluate appropriateness, possibility and usefulness of the administrative model for developing student care and support systems in schools. The sample group consisted of 121 schools under Bangkok Metropolitan Administration, academic year 2023. Research tools included an interview form, questionnaires, and evaluation form. Statistics used included percentage (Percentage), mean (M) and standard deviation (SD). Analysis of the Pearson Correlation Coefficient, Harmony of the research model (CFA), Structural Equation Modeling (SEM), Analysis of influence paths (Path Analysis). The results of the research were found that 1) The causal factors for the success of the student care and support system in schools under Bangkok Metropolitan Administration. The results of the factor model of the student care and support system in schools under Bangkok Metropolitan Administration found six internal and external factors including 1) the role of administrators, 2) teachers' competencies, 3) work atmosphere/culture in the organization, 4) participation of parents and communities, 5) implementation of policies, and 6) Support from relevant agencies, overall were at the highest level, and the level of success of the student support system in schools under Bangkok Metropolitan Administration was also at the highest level, 2) To Examine the consistency of the causal factor model of the student support system in schools under Bangkok Metropolitan Administration, the model was confirmed by the empirical data, and 3) the model of the causal factor evaluated by experts was appropriate and possible at the highest level. In addition, the model evaluated by those involved in the use of the model was also found to be possible and useful at the highest level.
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความสำเร็จของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 121 โรงเรียน เครื่องมือในการทำวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบการสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิจัย (CFA) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) วิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุของความสำเร็จของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยภายในและภายนอก จำนวน 6 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) บทบาทของผู้บริหาร 2) สมรรถนะของครู 3) บรรยากาศการทำงาน/วัฒนธรรมในองค์กร 4) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน 5) การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ และ 6) การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยทรงคุณวุฒิ พบว่า การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบ พบว่า การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/994
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61162107.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.