Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/901
Title: A STUDY OF THE CORRELATION BETWEEN THE COMPETENCE OF EDUCATIONALNSTITUTION ADMINISTRATORS WITH  TEAMWORK IN EDUCATIONALINSTITUTIONS UNDER THE OFFICE OF NON-FORMAL EDUCATIONPROMOTION AND INFORMAL DUCATION IN LAMPANG PROVINCE
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง
Authors: Wankamol Chanpraderm
วรรณกมล ฉันประเดิม
sunthon Khlal um
สุนทร คล้ายอ่ำ
University of Phayao
sunthon Khlal um
สุนทร คล้ายอ่ำ
sunthon.kh@up.ac.th
sunthon.kh@up.ac.th
Keywords: สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา
การทำงานเป็นทีม
Competency of School Administrators Teamwork
Issue Date:  16
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objective of this research is 1) to study the competencies of directors in Lampang Non-Formal Education and Informal Education 2) To study the team working of Lampang Non-Formal Education and Informal Education 3) To study the relationship between the competencies of directors that affect to 97 teachers in Lampang Non-Formal Education and Informal Education. The sample group were NFE teachers. The research tool was 5 level estimation scale questionnaires. Data analysis statistics were percentage, mean and standard deviation, one Way ANOVA and Pearson's correlation coefficient. the results showed that 1) Competencies of directors affect to the Non-Formal Education and Informal Education about core competencies at a high level. Functional Competency of Lampang Non-Formal Education and Informal Education Office at a high level. 2) Working as a team of directors affect teamwork Lampang Non-Formal Education and Informal Education Office at a high level. 3) The results of the relationship analysis of the director’s competencies that affect to Non-Formal Education and Informal Education teamwork in Lampang Non-Formal Education and Informal Education Office. There was a positive relationship at a high level as statistic 0.01
การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง 2)ศึกษาการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้าราชการครู และ ครู กศน.ตำบล จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน จากผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา พบว่า สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ รองลงมา คือ ด้านการบริการที่ดี ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก สมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการสื่อสารและ การจูงใจ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ อยู่ในระดับมาก 2) การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง พบว่า ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการติดตามและส่งเสริมการพัฒนาทีมงาน รองลงมา คือ ด้านการสร้างความรร่วมมืออย่างแข็งขัน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการสื่อสารระหว่างกันแบบเปิดเผย อยู่ในระดับมาก 3) จากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง พบว่า มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/901
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64205322.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.