Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/870
Title: | A STUDY OF THE RELATIONSHIP BETWEEN TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP AND INTERNAL QUALITY ASSURANCE OF SCHOOL UNDER PHAYAO PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 1 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 |
Authors: | Kodchapron Ainthanu กชพร อินธนู Wannakorn Phornprasert วรรณากร พรประเสริฐ University of Phayao Wannakorn Phornprasert วรรณากร พรประเสริฐ praewphornprasert@gmail.com praewphornprasert@gmail.com |
Keywords: | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน Internal quality assurance Transformational leadership |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The research aimed to 1) study school administrators’ transformational leadership 2) study schools’ internal quality assurance and 3) study the relationship between school administrators’ transformational leadership and schools’ internal quality assurance under Phayao primary education service area office 1. The samples were sampled from population by using determining sample of Taro Yamane (1973) and multi-stage sampling. The samples consisted of 286 school administrators and government teachers who had taught in the basic education school under Phayao primary education service area office 1. The research instrument applied for data collection was a rating scale questionnaire which consists of transformational leadership (x) and internal quality assurance questions (y) (IOC = .67-1.00, αx = .95, αy = .98). The data was analyzed for Percentage, Mean, and Standard deviation. The statistical hypothesis testing was Pearson product-moment correlation coefficient.
The findings of the study were as follows 1) the school administrators’ transformational leadership level were overall at a high level. Considering each aspect ordered from the highest to the least, they were Idealized Influence Leadership, Individualized Consideration, Intellectual Stimulation and Inspiration Motivation respectively. 2) The schools’ internal quality assurance were overall at a high level. Considering each aspect, the highest level was procedure for writing self-assessment report (SAR) of schools. And the least level was procedure of evaluation and quality inspection of internal quality of schools. 3) The relationship between school administrators’ transformational leadership and schools’ internal quality assurance was positively related at the .01 level of significant (rxy = .55). การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 286 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากตารางสำเร็จของ ทาโร่ ยามาเน่ และการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เท่ากับ .95 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน จากผลการศึกษา พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน เรียงจากมากไปน้อย พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสูงสุด ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นเอกัตถะบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ 2) การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายขั้น เรียงจากมากไปน้อย พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน อยู่ในระดับสูงสุด ได้แก่ ขั้นการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) และขั้นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ขั้นการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพจากการพิจารณารายงานการประเมินตนเอง และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โดยภาพรวมทุกด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .55 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/870 |
Appears in Collections: | School of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
64204950.pdf | 3.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.