Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/849
Title: STUDY OF CONDITIONS AND ORGANIZATIONAL HEALTH DEVELOPMENT GUIDELINESOF EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER THE OFFICE OF CHIANG RAI PRIMARYEDUCATIONAL SERVICE AREA 1
การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
Authors: Sasinipha Khamchai
ศศินิภา คำชัย
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
University of Phayao
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
thidawan.un@up.ac.th
thidawan.un@up.ac.th
Keywords: สุขภาพองค์การ
แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การ
Organizational Health
Guidelines for developing organizational health
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: This study aims to 1) To study to study the organizational health of educational institutions 2) To study the guidelines for developing organizational health of educational institution Chiang Rai Primary Educational Service Area Office, Region 1. The sample were the school administrators and teachers 291 persons according to the table of Krejcie and Morgan and advisory Level 5 people. The research instruments were divided into 2 types, 1) was a questionnaire which was characterized by a 5-level estimation scale 2) type of interview semi-structure. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The results found that 1) The organizational health of educational institutions Overall, all dimensions were at a high level. The order of organizational health of educational institutions in descending order is as follows: Teacher Inclusion, Administrator Influence, Operational Morale, School Administrator Leadership, Communication and Resource Support. 2) Guidelines for developing organizational health of educational institutions found that, the resource Support dimension School administrators should raise funds and resources from various departments’ parents as well as creating cooperation between educational institutions and communities in terms of budget support and capable personnel and preparation of a quality development plan; School annual action plan for efficient resource management and budget utilization. Communication dimension, School administrators should promote public relations both inside and outside the school by using a variety of communication channels and consistently and promoting communication of personnel within the organization, both direct communication and indirect communication through various communication channels. Leadership building of school administrators should be promoted, leadership skills training, inspire leadership and school administrators and administrators must inspire their subordinates and colleagues as well as having a vision of future success and have a clear management style.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสุขภาพองค์กรของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษา แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 291 คนโดยกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1) แบบสอบถาม โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ 2) แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สุขภาพองค์การของสถานศึกษา โดยรวมทุกมิติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับสภาพสุขภาพองค์การของสถานศึกษา จากมากไปน้อย ดังนี้คือ มิติด้านการอยู่ร่วมกันของครู มิติด้านอิทธิพลของผู้บริหาร มิติด้านขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มิติด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา มิติด้านการสื่อสาร และมิติด้านการสนับสนุนทรัพยากร ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการระดมทุน และทรัพยากรจากหน่วยงานต่างๆ การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา เพื่อการจัดการทรัพยากรและการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยใช้ช่องทางการสื่อสาร ที่หลากหลาย ควรส่งเสริมการสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารต้องสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน ตลอดจนมีวิสัยทัศน์ มองภาพความสำเร็จในอนาคต และมีรูปแบบการบริหาร ที่ชัดเจน
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/849
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64170424.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.