Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/832
Title: THE RELATIONSHIP BETWEEN THE DIGITAL SKILLS OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND THE EFFECTIVENESS OF SCHOOL ADMINISTRATION UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE CHIANG RAI
ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล ของการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
Authors: Thanakrit Jaksuwan
ธนกฤต จักรสุวรรณ์
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
University of Phayao
Thidawan Unkong
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
thidawan.un@up.ac.th
thidawan.un@up.ac.th
Keywords: การบริหารการศึกษา
ทักษะดิจิทัล
ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา
Educational Administration
Digital Skills
School Effectiveness
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were 1) to study the digital skills of school administrators. 2) to study the effectiveness of school administration of school administrators. And 3) to study the relationship between the digital skills of school administrators and the effectiveness of school administration. Under the Secondary Educational Service Area Office Chiang Rai. The samples used in this research were administrators and teachers in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office Chiang Rai, Rimkok Campus, 320 people were drawn from the sample group from Krejcie and Morgan's table. Once the sample size was obtained, a multi-stage random sampling method was used. The research was a 5-point scaled questionnaire with an index of instrument consistency (IOC) of 0.33-1.00 and a confidence coefficient of alpha at the level of 0.99. Statistics used in data analysis were frequency distribution. Finding Percentages averaging Finding the Standard Deviation and Pearson's correlation analysis (Pearson Product Moment Correlation). The results of the research showed that: 1) The digital skills of school administrators overall and each aspect was at a high level. The skills with the highest average value were search skills, followed by systematic work skills. and skills for comprehension and use of digital technology, respectively. The skills with the lowest average were innovation skills. 2) The school effectiveness under the overall and each aspect was at a high level. The effectiveness of educational institutions with the highest average values was teacher quality, followed by educational institution quality. and administrative quality, respectively. 3) The relationship between digital skills of school administrators and school effectiveness. Under the Secondary Educational Service Area Office Chiang Rai have a high level of positive correlation statistically significant at the .01 level.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย สหวิทยาเขตริมกก จำนวน 320 คน ได้มาจากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาค่า 5 ระดับ โดยมีค่าดัชนี ความสอดคล้องของเครื่องมือ (IOC) ระหว่าง 0.33-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาที่ระดับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะการสืบค้น รองลงมา คือ ทักษะการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามลำดับ ส่วนทักษะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะการสร้างนวัตกรรม 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยประสิทธิผลของสถานศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณภาพครู รองลงมา คือ ด้านคุณภาพสถานศึกษา และด้านคุณภาพการบริหาร ตามลำดับ ส่วนประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/832
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64170222.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.