Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/806
Title: DEVELOPMENT OF A TEACHING MODEL BASED ON EDUCATIONAL NEUROSCIENCES,AND METACOGNITION TO ENHANCE COMMUNICATIVE ENGLISH SPEAKINGABILITY AND COGNITIVE ABILITY FOR UPPER SECONDARYEDUCATION STUDENTS
การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดประสาทวิทยศึกษาศาสตร์ร่วมกับอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษและความสามารถเชิงพุทธิปัญญาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Authors: Sujinta Kham-ngoen
สุจินตา คำเงิน
Lumyai Seehamat
ลำไย สีหามาตย์
University of Phayao
Lumyai Seehamat
ลำไย สีหามาตย์
Lumyai.se@up.ac.th
Lumyai.se@up.ac.th
Keywords: รูปแบบการสอน
ประสาทวิทยศึกษาศาสตร์
อภิปัญญา
ความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ
ความสามารถเชิงพุทธิปัญญา
Model of Teaching
Educational Neurosciences
Metacognition
Communicative English-Speaking Ability
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this research were 1) to develop and examine the efficiency of teaching model based on Educational Neurosciences, and Metacognition to enhance communicative speaking English ability and cognitive ability, 2) to study the effect of the teaching model concerning students’ communicative English-speaking ability, 3) to study the effect of the teaching model concerning students’cognitive ability (Working Memory and Attention), 4) to examine and assess the teaching model, and 5) to study the teaching model quality assessment results. The research and development concluded 3 phases: Phase 1: studied the need assessment, synthesized the relevant theory, and developed a draft prototype. Phase 2: tried out the teaching model draft with small group samples and examine by using Effectiveness index Phase 3: studied the effect of the teaching model through pre-post test as well as the control group design research. The samples were Mattayomsuksa 6 students of Fangchanupathum School in the first semester of 2022 academic year, chosen by simple random sampling, and consisted of 31 students in experimental group who was taught by using the teaching model developed, while 34 students in control group was taught with conventional teaching. The instruments were 1) Achievement test 2) Communicative English speaking ability Test 3) Working memory battery test and Attention battery test 4) A teaching model assessment form. The data were analyzed by Mean, Standard Deviation, and HotellingT2. The research results revealed that 1. The teaching model composed of five steps: 1) Reception 2) Rehearsal 3) Refreshing 4) Recalling, and 5) Refection, 2. The average scores of the Efficiency test and Communicative English speaking ability test in experiment group were significantly higher than the control group at .01 level, 3. The average scores of Working memory and Attention test in experiment group were significantly higher than the control group at .01 level, 4. The average score of a teaching model assessment by the expert were qualified between 4.46-5.00, strongly agree in every item, and 5. The results of teaching model assessment by experts found that the teaching model can clearly involve with the theoretical concepts used as a base for development and be suitable for use.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนที่ใช้แนวคิดประสาทวิทยศึกษาศาสตร์และอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษและความสามารถเชิงพุทธิปัญญาด้านความจำขณะทำงานและความตั้งใจ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนที่มีต่อความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนที่มีต่อความสามารถเชิงพุทธิปัญญา 4) ศึกษาและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน และ 5) ศึกษาผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการสอน การดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็น/สังเคราะห์แนวคิด/ทฤษฎี/พัฒนาร่างต้นแบบรูปแบบการสอน ระยะที่ 2 นำร่างรูปแบบการสอนไปทดลองใช้เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้ของรูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1 โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลอง จำนวน 31 คน ได้รับรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน ได้รับการสอน แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบทดสอบการพูดภาคปฏิบัติ 3) แบบวัดความจำขณะทำงานและแบบวัดความตั้งใจ 4) แบบประเมินรูปแบบการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าสถิติ HotellingT2 ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการสอน ที่พัฒนาขึ้น มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นไฝ่รู้ (Reception) 2) ขั้นฝึกฝน (Rehearsal) 3) ขั้นสร้างความรู้จากสถานการณ์ใหม่ (Refreshing) 4) ขั้นฝังใจจำ (Recalling) และ 5) ขั้นตรวจสอบและประเมินผล (Refection) 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านความสามารถเชิงพุทธิปัญญาหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการศึกษาการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ และ 5. ผลการประเมินรูปแบบการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการสอนนี้สามารถมีการเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการเป็นฐานในการพัฒนาอย่างชัดเจน มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้มากที่สุด
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/806
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61501362.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.