Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/798
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWittaya Pulsawaden
dc.contributorวิทยา พูลสวัสดิ์th
dc.contributor.advisorLuecha Ladacharten
dc.contributor.advisorลือชา ลดาชาติth
dc.contributor.otherUniversity of Phayaoen
dc.date.accessioned2024-02-14T13:16:04Z-
dc.date.available2024-02-14T13:16:04Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued29/5/2023
dc.identifier.urihttp://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/798-
dc.description.abstractThe purpose of this research is to: 1) Establish and determine the quality of teaching style based on constructivist theory, and promote the mathematical reasoning ability of pre-service teachers, and 2) Study the influence of constructivist teaching model on the level of mathematical reasoning ability. The sample group for the first objective was 7 experts and 29 pilot students. The sample group of the second objective was a group of 26 first-year students of mathematics program from faculty of education, Chiang Rai Rajabhat University, in the first semester of the 2022 academic year. Both sample groups were selected by purposive sampling, followed by consideration of qualification criteria and convenience. The research tools included: 1) Teaching model based on constructivism 2) Assessment form of mathematical reasoning ability and 3) Semi-structured interview form. Quantitative data analysis was relied on mean value, standard deviation and non-parametric statistical tests, while the qualitative data analysis was used to interpret inductive conclusions. It can be concluded that the teaching and learning model based on constructivist theory has 6 components including principles, objectives, content, process of learning activities, media and learning resources, and assessment/evaluation. From expert evaluation, the model had the highest level of appropriacy while students, who used the constructivist instructional method for learning, improved their mathematical reasoning ability at the significance level of 0.05, both inductively and deductively (W = 0.000, z = 4.457, pen
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี สรรคนิยม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาครู และ 2) เพื่อศึกษาผล ของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมต่อระดับความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 1 คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน และนักศึกษากลุ่มทดลองนำร่อง จำนวน 29 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 2 คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 2 สาขาคณิตศาสตร์ จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ซึ่งทั้งสองกลุ่มมาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามด้วยเกณฑ์คุณสมบัติและความสะดวก ตามลำดับ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยม 2) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทางสถิติแบบนอนพาราเมตริก ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการตีความเพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบการเรียนการสอนมีคุณภาพด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น ทั้งการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย โดยการทดสอบทางสถิติบ่งชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (W = 0.000, z = 4.457, p < .001 สำหรับการให้เหตุผลแบบอุปนัย และ W = 0.000, z = 4.457, p < .001 สำหรับการให้เหตุผลแบบนิรนัย) นอกจากนี้จากการหาคุณภาพของรูปแบบการสอนโดยดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6177 ซึ่งยืนยันว่า รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์นักศึกษา ถึงแม้ว่านักศึกษาทุกคนระบุลักษณะของการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ทั้งสองแบบได้ แต่นักศึกษาบางคนไม่สามารถบอกได้ว่า การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ทั้งสองแบบทำงานร่วมกันในการสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างไรth
dc.language.isoth
dc.publisherUniversity of Phayao
dc.rightsUniversity of Phayao
dc.subjectการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนth
dc.subjectความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์th
dc.subjectการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมth
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์th
dc.subjectการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาครูth
dc.subjectTeaching and Learning Model Developmenten
dc.subjectMathematical Reasoning Abilityen
dc.subjectTeaching and Learning Based on Constructivist Theoryen
dc.subjectMathematics Instructional Processen
dc.subjectMathematical Reasoning for Pre-service Studentsen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.titleDEVELOPING A CONSTRUCTIVIST INSTRUCTIONAL MODEL TO FACILITATE PRESERVICE (MATHEMATICS) TEACHERS’ MATHEMATICAL REASONING ABILITYen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาครูth
dc.typeDissertationen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorLuecha Ladacharten
dc.contributor.coadvisorลือชา ลดาชาติth
dc.contributor.emailadvisorluecha.la@up.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorluecha.la@up.ac.th
dc.description.degreenameDoctor of Education Program (Ed.D.(Curriculum and Instruction))en
dc.description.degreenameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.(หลักสูตรและการสอน))th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineCurriculum and Instructionen
dc.description.degreedisciplineหลักสูตรและการสอนth
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60207094.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.