Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/795
Title: | THE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON SCHEMA THEORYAND SCAFFOLDING TO ENHANCE ENGLISH CRITICAL READING ABILITIESFOR UPPER SECONDARY STUDENTS การพัฒนารูปแบบการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Authors: | Thitipong Lueangsuwan ฐิติพงศ์ เหลืองสุวรรณ Wilaiporn Rittikoop วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ University of Phayao Wilaiporn Rittikoop วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ wilaiporn.ri@up.ac.th wilaiporn.ri@up.ac.th |
Keywords: | รูปแบบการสอน ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ แนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ การอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ Schema Theory Scaffolding An Instructional Model English Critical Reading Abilities |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | This research aimed to 1) develop an instructional model based on Schema Theory and Scaffolding to enhance English critical reading abilities for upper secondary students and 2) study the effects of an instructional model based on Schema Theory and Scaffolding to enhance English critical reading abilities for upper secondary students. This research consists of 3 stages as follows: 1) Studying the base data for developing an instructional model 2) Designing and Developing an instructional model and 3) Experimenting with an instructional model. The sample consisted of 35 students that were selected by purposive selection who studied at Mae Ai Wittayakom School in second semester of the 2022 academic year. The research instruments were 1) an instructional model based on Schema Theory and Scaffolding to enhance English critical reading abilities for upper secondary students and 2) English critical reading abilities test. Data were collected by using experimental and data analysis methods. The data was analyzed by using mean, standard deviation, t-test dependent and content analysis.
The results of the research were as followed: 1) An instructional model consists of 5 components which are 1.1) principle 1.2) objectives 1.3) teaching and learning process 1.4) role of teacher and student and 1.5) evaluation Teaching and learning process of an instructional model consists of 5 steps which are
1) stimulate the prior knowledge 2) add the new knowledge 3) read for understanding 4) combine the ideas together and 5) apply the knowledge) 2) The effects of an instructional model found that 2.1) The students’ English critical reading abilities after learning with instructional model higher than before at the .05 level of statistical significance 2.2) The students’ English critical reading abilities after learning with instructional model higher than 70 percent criterion at the .05 level of statistical significance. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิด การเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับพัฒนารูปแบบการสอน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอน และ 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนแม่อายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบ การสอนตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ และ 2) แบบวัดความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการสอน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) หลักการ 1.2) วัตถุประสงค์ 1.3) ขั้นการจัดการเรียนรู้ 1.4) บทบาทของครูผู้สอนและนักเรียน และ 1.5) การวัดและประเมินผล โดยในขั้นการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการสอนประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความรู้เดิม ขั้นที่ 2 เพิ่มเติมความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 สร้างความเข้าใจด้วยการอ่าน ขั้นที่ 4 ผสานความคิดร่วมกัน และขั้นที่ 5 นำความรู้สู่การประยุกต์ใช้ 2) ผลการใช้รูปแบบการสอน พบว่า 2.1) นักเรียนมีคะแนน ความเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักเรียนมีคะแนนความเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/795 |
Appears in Collections: | School of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59206888.pdf | 6.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.