Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/789
Title: RELATIONSHIP BETWEEN DIGITAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AND TEACHER CORE COMPETENCIES IN SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE BANGKOK 1
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กับสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
Authors: Manaspong Kengchalard
มนัสพงษ์ เก่งฉลาด
Somsak Aeamkongsee
สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี
University of Phayao
Somsak Aeamkongsee
สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี
somsak.ae@up.ac.th
somsak.ae@up.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา
สมรรถนะหลักของครู
Digital Leadership of School Administrators
Teacher Core Competencies
Issue Date:  16
Publisher: University of Phayao
Abstract: This research aimed to 1) study the digital leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1. 2) study the teacher core competencies in the school under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1. 3) study the relationship between the digital leadership of school administrators and teacher core competencies in the school under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1. The sample were 138 public school teachers in academic year 2022 randomly by using the G*Power version 3.1 program, getting them by simple random sampling stratified according to the proportion of each school size. The instrument used to collect data was a questionnaire with a reliability of the entire questionnaire equals to .980, the confidence value of the digital leadership of school administrators was .969 The confidence value of teachers core competency was .958. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Correlation Coefficient. The results of the research found that 1) the digital leadership of the school administrators both overall and each aspect was at a high level in descending order of mean were the aspects of being a digital user, creating a learning culture in the digital world, creativity and having a technology vision in digital age 2) teacher core competencies in the school under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1 results were at a high level in three competencies in descending order of mean as followed: team work performance, good service performance and self -development competency 3) the digital leadership of the school administrators had a high, and relatively high positive correlation with teacher core competencies in the school under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1 (r=.827), respectively were creativity (r=.771), creating a learning culture in the world (r=.755), having a technology vision in digital age (r=.720) and digital user (r=.707) had a statistically significant at the .01 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power เวอร์ชั่น 3.1 ได้กลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของขนาดแต่ละโรงเรียน คือ ข้าราชการครู ปีการศึกษา 2565 จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .980 และมีค่าความเชื่อมั่นของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ .969 ค่าความเชื่อมั่นของสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษาเท่ากับ .958 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการเป็นผู้ใช้งานดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล ด้านการคิดสร้างสรรค์ และด้านการมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยียุคดิจิทัล 2) สมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 อยู่ในระดับมากทั้ง 3 สมรรถนะ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ สมรรถนะการทำงานเป็นทีม สมรรถนะการบริการที่ดี และสมรรถนะการพัฒนาตนเอง 3) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูงและระดับค่อนข้างสูงกับสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 (r=.827) ด้านที่มีค่าสูงสุด คือ ด้านการคิดสร้างสรรค์ (r=.771) รองลงมา คือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล (r=.755) ด้านการมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยียุคดิจิทัล (r=.720) และ ด้านการเป็นผู้ใช้งานดิจิทัล (r=.707) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/789
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64160209.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.