Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/766
Title: ADMINISTATIVE MODEL FOR THE DEVELOPMENT OF VOCATIONAL TEACHERS IN EXPLORATION AND EXPLOITATION TO  ENHANCE TEACHING PROFESSIONAND QUALITY OF LIFE.
รูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการแสวงหาและใช้องค์ความรู้เพื่อยกระดับวิชาชีพและคุณภาพชีวิต
Authors: Pattanakit Wonglas
พัฒนกิจ วงค์ลาศ
Kosol Meekun
โกศล มีคุณ
University of Phayao
Kosol Meekun
โกศล มีคุณ
kosol.me@up.ac.th
kosol.me@up.ac.th
Keywords: การแสวงหาและใช้องค์ความรู้
ครูอาชีวศึกษา
vocational teachers
exploration and exploitation
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were to 1) study the causal factors of exploration and exploitation behaviors 2) study the group of vocational teachers should be developed first and the factors that should be promoted 3) create and examine the causal factors model of exploration and exploitation behaviors, and 4) evaluate the administrative model for the development of vocational teachers used a quantitative and qualitative mixed research method. The sample consisted of 324 teachers under the Office of the Vocational Education Commission obtained by multi-stage sampling. There were 11 the measurement of research tools with reliability (α) from .691 to .926 through interviewing experts and model assessment form. The Statistics used for data analysis were t-test, Multiple regression Analysis, and Influence Path Analysis. The results showed that : 1) The social situation variable group explained exploration and exploitation behavior of Vocational Teachers at 52 percentage and 59.7 percentage respectively which explained  more than 25 percentage together with the social situation variable group able to explain exploration behavior increased by explained social situation factor group alone for more than 5 percentage. 2) A Casual factor model of exploration and exploitation behaviors of Vocational Education Teachers was consistent with the empirical data. The result of the explanation was at 98.1 percentage. 3) There were two groups of Vocational Teachers who needed to be developed, namely those over 40 years of age and more with government teacher position. The important contributing factors were positive attitudes towards acquiring and exploitation, receiving social support and access to social media. Finally, 4) The administrative model for the development of vocational teachers in exploration and exploitation to enhance teaching profession and quality of life assessed by experts that the mean in each aspect and overall 87.85 – 91.43 and 89.55 Moreover, the model for the development of vocational teachers to enhance significant mental traits with the On-The-Job training program with mean in each aspect and overall 87.00 - 88.29 and 87.71 was also higher than the 70/75 criteria respectively. As a result, this research will be useful for executives and those involved in the development of vocational teachers in exploration and exploitation of knowledge to enhance professional quality and the quality of life.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ 2) ศึกษากลุ่มครูอาชีวศึกษาที่ควรได้รับการพัฒนาก่อนและปัจจัยส่งเสริม 3) สร้างและตรวจสอบรูปแบบเชิงสาเหตุพฤติกรรมการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการแสวงหาและใช้องค์ความรู้เพื่อยกระดับวิชาชีพและคุณภาพชีวิต โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จํานวน 324 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้วัดในการวิจัย คือ 1) แบบวัด 11 แบบวัด เป็นแบบวัด มาตรประเมินรวมค่า มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ .691 ถึง .926 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินรูปแบบการบริหารการพัฒนา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งสถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิง โดยสถิติอ้างอิงที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวแปรปัจจัยสถานการณ์ทางสังคมอธิบายพฤติกรรมการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ของครูอาชีวศึกษาได้ร้อยละ 52.0 และ 59.7 ตามลำดับ ซึ่งอธิบายได้มากกว่าร้อยละ 25 กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม และกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถอธิบายพฤติกรรมการแสวงหาองค์ความรู้ได้เพิ่มขึ้นจากการอธิบายด้วยกลุ่มตัวแปรปัจจัยสถานการณ์ทางสังคมเพียงอย่างเดียว มากกว่าร้อยละ 5 2) รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุพฤติกรรมการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ของครูอาชีวศึกษา สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยอธิบายได้ร้อยละ 98.1 3) กลุ่มครูอาชีวศึกษาที่สมควรได้รับการพัฒนาก่อนมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มครูอาชีวศึกษาที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และกลุ่มครูอาชีวศึกษาที่มีตำแหน่งข้าราชการครู ปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญสำหรับครูอาชีวศึกษาสองกลุ่มดังกล่าวคือ ทัศนคติที่ดีต่อการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ 4) รูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการแสวงหาและใช้องค์ความรู้เพื่อยกระดับวิชาชีพและคุณภาพชีวิต ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนแรกเป็นรูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษา ดำเนินการโดยผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยรายด้านและโดยรวม ร้อยละ 87.50 ถึง 91.43 และ 89.55 ส่วนที่สองเป็นรูปแบบการพัฒนาเพื่อส่งเสริมจิตลักษณะสำคัญของครูอาชีวศึกษา โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยรายด้านและโดยรวม 87.00 ถึง 88.29 และ 87.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 70 และ 75 ตามลำดับ ทําให้เชื่อมั่นได้ว่ารูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการแสวงหาและใช้องค์ความรู้นี้ สามารถนําไปใช้ปฏิบัติได้ ผลการวิจัยทำให้ได้ข้อเสนอแนะ แนวทางการนำไปใช้ประโยชน์และการวิจัยที่ควรจะต้องทำต่อไป
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/766
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62160151.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.