Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/763
Title: A Model of Developing Personnel's Digital Competency in Rajamangala University of Technology Rattanakosin
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
Authors: Rapee Moungnont
รพี ม่วงนนท์
Sakchai Nirunthawee
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
University of Phayao
Sakchai Nirunthawee
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
sakchai.ni@up.ac.th
sakchai.ni@up.ac.th
Keywords: สมรรถนะเชิงดิจิทัล
รูปแบบการพัฒนา
บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
Digital Compentency
Development Model
Personnel of Rajamangala University of Technology Rattanakosin
Issue Date:  4
Publisher: University of Phayao
Abstract:         The purposes of this research were to: 1) study the causal factors in developing personnel's digital competency in Rajamangala University of Technology Rattanakosin, 2) examine the digital competence development model of personnel at Rajamangala University of Technology Rattanakosin in alignment with data analytics, 3) identify the groups that should receive development first and the factors that promote the digital competency of personnel at Rajamangala University of Technology Rattanakosin, and 4) assess the potential applicability of the digital competency development model among personnel at Rajamangala University of Technology Rattanakosin using a mixed-method research approach. The research sample consisted of 416 personnel, Taro Yamane's sample size calculation method including academic and support staff at Rajamangala University of Technology Rattanakosin, selected  a Multi-Stage Sampling process. There were 11 the measurement of research tools with reliability (α) from .76 to .90 through interviewing experts and model assessment form. The Statistics used for data analysis were t-test, Multiple Regression Analysis, and Structural Equation Model Analysis.           The results showed that: 1) Internal and external factors within individuals explain the development of digital competencies among personnel at Rajamangala University of Technology Rattanakosin with a percentage of 84.40. 2) The causal model are consistent with empirical data. 3) When classified based on demographic, the average values of different factors that varied among personnel showed that personnel with different basic characteristics had different digital competencies. 4) The model of developing personnel's digital competency in Rajamangala University of Technology Rattanakosin, as evaluated by qualified individuals, had an average score from 26.50 - 27.50, with an overall average of 76.25, higher than the established standards of 70 and 75 respectively and indicating confidence in the practical applicability of this digital competency development model. The research results provide recommendations, directions for practical application, and should create or design development activities based on key factors to lead to the enhancement of developing personnel's digital competency in Rajamangala University of Technology Rattanakosin.
   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 2) ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษากลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนาก่อนและปัจจัยส่งเสริมสมรรถนะเชิงดิจิทัลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และ 4) ประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จำนวน 416 คน โดยวิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ และการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้วัดในการวิจัย คือ 1) แบบวัด 11 แบบวัด เป็นแบบวัดมาตรประเมินรวมค่า มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ .760 ถึง .900  2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินรูปแบบการบริหารการพัฒนา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งสถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิง โดยสถิติอ้างอิงที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์โมเดลโครงสร้าง        ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวแปรปัจจัยภายในบุคคลและปัจจัยภายนอกบุคคล อธิบายการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้ร้อยละ 84.40  2) โมเดลเชิงโครงสร้างของรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) การจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ การแสดงค่าเฉลี่ยของปัจจัยต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน พบว่าบุคลากรที่มีคุณลักษณะพื้นฐานต่างกัน มีสมรรถนะเชิงดิจิทัลแตกต่างกัน 4) รูปแบบการบริหารการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิรายด้าน มีค่าเฉลี่ย 26.50 ถึง 27.50 ค่าเฉลี่ยร้อยละตั้งแต่ 75.00 ถึง 77.86 ค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 76.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 70 และ 75 ตามลำดับ ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ารูปแบบการบริหารการพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์นี้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ ผลการวิจัยทำให้ได้ข้อเสนอแนะ แนวทางการนำไปใช้ประโยชน์และควรสร้างหรือออกแบบกิจกรรมการพัฒนาตามปัจจัยที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะเชิงดิจิทัลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/763
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61162309.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.