Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/666
Title: | A DYNAMIC "PHRA-RAM" IN MANUSCRIPT LITERATURESIN THE VERSIONS OF INDIA AND TAI พลวัต "พระราม" ในวรรณกรรมนิทานลายลักษณ์ฉบับอินเดียและกลุ่มชาติพันธุ์ไท |
Authors: | Chawarin Kammakeaw ชวรินทร์ คำมาเขียว Charuwan Benjathikul จารุวรรณ เบญจาทิกุล University of Phayao Charuwan Benjathikul จารุวรรณ เบญจาทิกุล charuwan.be@up.ac.th charuwan.be@up.ac.th |
Keywords: | พลวัตพระราม นิทานพระรามฉบับลายลักษณ์ วรรณกรรมชาติพันธุ์อินเดีย-ไท Phra–Ram's dynamics Phra–Ram's written tales Indian and Tai ethnic literature |
Issue Date: | 7 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | The aims of this research were to study the comparative methods for characteristic constructing of Phra-Ram, to study Phra-Ram's dynamics in Tai ethnic literature and to study interaction concept between the character of Phra-Ram and the social and cultural context of the ethnic group who owns each edition of Phra-Ram literature. The research results found that: The main characteristics of the character of Phra-Ram in the 7 editions of Phra-Ram tales caused by combining the internal personality with the external personality. By giving Phra-Ram's character an important feature was competence and goodness. The main characteristics that were unique were good looks, good background and good birth, be a good son, be a good father, be a good brother, be a good husband and be a good leader and warrior. At the same time, Phra-Ram characters in Phra-Ram literature, all 6 editions of Tai ethnic group still had an identity, that was, having a background is a Bodhisattva transformed from a warrior hero to a hero of asceticism and had more than one wife, additionally, this research found the dynamics of the Phra-Ram characters were shown in 6 editions of Tai ethnic group, with the Phra-Ram characters related to religious concepts. The characters were changed from Lord Narayana into Bodhisattva, who had conflicts with his own son before knowing the relationship between them, had more than one wife, and changed character from warrior to ascetic in terms of the interaction between the social and cultural contexts of the ethnic groups, the research found that the Phra-Ram characters in 7 editions had reflected the conceptualization of role models, ideal models, and the person in the society who owns each copy of Phra-Ram literature. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการประกอบสร้างตัวละครพระรามเชิงเปรียบเทียบ ศึกษาพลวัตตัวละครพระรามในวรรณกรรมพระรามฉบับกลุ่มชาติพันธุ์ไท และศึกษาแนวคิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละครพระรามกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้เป็นเจ้าของวรรณกรรมพระรามแต่ละฉบับ ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะสำคัญของตัวละครพระรามในวรรณกรรมนิทานพระรามทั้ง 7 ฉบับ เกิดจากการประกอบสร้างบุคลิกภายในร่วมกับบุคลิกภาพภายนอก โดยให้ตัวละครพระรามมีคุณลักษณะสำคัญ คือ มีความสามารถและความดี โดยมีคุณลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ คือ รูปลักษณ์ดี ภูมิหลังและชาติกำเนิดดี เป็นบุตรที่ดี เป็นบิดาที่ดี เป็นเชษฐาที่ดี เป็นสามีที่ดี และเป็นผู้นำและนักรบที่ดี ขณะเดียวกันตัวละครพระรามในวรรณกรรมนิทานพระรามฉบับกลุ่มชาติพันธุ์ไท 6 ฉบับ ยังมีอัตลักษณ์ คือ มีภูมิหลังเป็นพระโพธิสัตว์ เปลี่ยนสถานะจากวีรบุรุษนักรบเป็นวีรบุรุษแห่งการบำเพ็ญทานและมีภรรยามากกว่าหนึ่งคน นอกจากนี้ยัง พบว่า ตัวละครพระรามในวรรณกรรมนิทานพระรามฉบับกลุ่มชาติพันธุ์ไท 6 ฉบับ ยังมีพลวัตดังนี้ คือ มีรูปลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับแนวคิดทางศาสนา เปลี่ยนภูมิหลังจากพระนารายณ์เป็นพระโพธิสัตว์ มีปมความขัดแย้งกับบุตรก่อนทราบความสัมพันธ์ มีภรรยามากกว่าหนึ่งคน จนถึงเปลี่ยนจากวีรบุรุษนักรบมาเป็นวีรบุรุษแห่งการบำเพ็ญทาน ในด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้เป็นเจ้าของวรรณกรรมพระรามแต่ละฉบับ จากการศึกษา พบว่า ตัวละครพระรามในวรรณกรรมนิทานพระรามทั้ง 7 ฉบับ ได้ทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนความคิดรวมถึงการเป็นบุคคลต้นแบบและบุคคลในอุดมคติให้แก่ผู้นำและบุคคลในสังคมที่เป็นเจ้าของวรรณกรรมนิทานพระรามแต่ละฉบับ |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/666 |
Appears in Collections: | School of Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59113739.pdf | 9.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.