Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/665
Title: CONSTRUCTIVE TECHNIQUES OF CHAN LITERARY WORKSOF THE POETS IN KING RAMA V
การประกอบสร้างคำฉันท์ของกวีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
Authors: Nawaphorn Khummuang
นวพร คำเมือง
Warawat Sriyaphai
วรวรรธน์ ศรียาภัย
University of Phayao
Warawat Sriyaphai
วรวรรธน์ ศรียาภัย
waaraathaanaa@yahoo.co.th
waaraathaanaa@yahoo.co.th
Keywords: การประกอบสร้างคำฉันท์
วรรณกรรมคำฉันท์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Poetry Construction
Poetry
King Rama VI
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purpose of this research was to study the Chant poetic construction of the poets in King Rama VI’s era. The research data was 20 Chant texts from 4 groups of poets namely, The King, the Royal family, government officers and normal folks by applying the literary criticism principles to pattern, content, and literary arts. The research found that the Chant poetic construction had changed the pattern of Chant to be different from the old one and used both prose and poem. The poem types that were used namely, Chant, Kaph, Klong, Konlabot, and Katha. The contents portrayed religious ideas, living styles, and love. The contents originated from the poets’ creation of the new storyline as well as influenced by Sanskrit literature, English literature, Jataka literature, Fable literature, Buddhist literature, Buddhist scriptures, and Mythology. For the literary arts, the research found that the poets chose exquisite words to portray the emotion of characters, namely, sound device, diction, literary styles and words connection which made Chant during the Era prospered and got recognized as the Golden Era of Chant Poetic Literature. Moreover, it was found that the unique identity of Chant poetic literature was during King Rama VI's reign, an extensive variety of poetry genres emerged in this type of literature. New chant poetic styles that are different from the old chant poetic style were used mixing verse with the chant, using the different structures of poetry besides Chant, Kaph which were Klong, Konlabot, and Katha.  The research also found that the poet also applied the types of Chants that did not follow the traditional chant poetic rules. The important unique Chant is the lyrical drama called Madanabadha which was new drama literature written by King Rama VI using a new type of poetic literature that had never been created before in the Thai literature community during that period.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างคำฉันท์ของกวีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือตัวบทวรรณกรรมคำฉันท์ของกวี 4 กลุ่ม คือ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน จำนวน 20 เรื่อง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมด้านรูปแบบ เนื้อหา และวรรณศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า การประกอบคำสร้างคำฉันท์มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบคำประพันธ์ต่างจากเดิม ใช้ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง โดยร้อยกรองที่ใช้มีทั้งฉันท์ กาพย์ โคลง กลบท และคาถา ด้านเนื้อหามีการแสดงแนวคิดทางด้านศาสนา การดำเนินชีวิต และความรัก แหล่งที่มาของเนื้อหาคำฉันท์เกิดจากการสร้างสรรค์โครงเรื่องใหม่ของกวี การได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมสันสกฤต วรรณกรรมอังกฤษ  วรรณกรรมชาดก วรรณกรรมนิทาน วรรณกรรมพุทธประวัติ คัมภีร์พระพุทธศาสนา และปกรณัม ทางด้านวรรณศิลป์พบว่ากวีเลือกสรรคำอย่างมีอลังการ ใช้สื่อภาวะอารมณ์ของตัวละคร ทั้งสัทลังการ ศัพทลังการ อรรถลังการ  และสัมพันธลังการ ทำให้คำฉันท์ในยุคสมัยนี้มีความรุ่งเรืองและเป็นที่ยอมรับว่าเป็นยุคทองของวรรณกรรมคำฉันท์ นอกจากนี้ยังพบว่า อัตลักษณ์ของวรรณกรรมคำฉันท์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พัฒนารูปแบบคำประพันธ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่แตกต่างไปจากการแต่งวรรณคำฉันท์แบบเดิม คือ ใช้ร้อยแก้วมาแต่งร่วมกับฉันท์ ใช้คำประพันธ์ร้อยกรองนอกเหนือฉันท์และกาพย์ กล่าวคือใช้โคลง กลบท และคาถามาแต่งร่วมด้วย และพบว่ากวีเลือกใช้ชนิดของฉันท์ไม่เป็นไปตามขนบนิยมตามตำราการแต่งฉันท์ ลักษณะสำคัญที่เป็นอัตลักษณ์เด่น คือ บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา เพราะเป็นบทละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ ใช้รูปแบบคำประพันธ์แบบใหม่ซึ่งยังไม่ปรากฏมาก่อนในแวดวงวรรณกรรมไทย
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/665
Appears in Collections:School of Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59113728.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.