Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/619
Title: | PSYCHO-SOCIAL CAUSAL FACTORS OF TEACHERS’ WORK LIFE QUALITY ปัจจัยเชิงสาเหตุทางจิตและสถานการณ์ทางสังคมของคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู |
Authors: | Noppharat Pomchiangphang นพรัตน์ ป้อมเชียงพัง Kosol Meekun โกศล มีคุณ University of Phayao. College of Management |
Keywords: | การพัฒนาครู ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คุณภาพชีวิตในการทำงานของครู Teachers developing Causal factors Teachers' work life quality |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | University of Phayao |
Abstract: | Objectives of this research were to study 1) relationship between psychological factors, and social situation factors and the teachers’ work life quality, 2) predictive volume of the teachers' work life quality by using psychological variables and social situation variables, and 3) groups of the teachers that should be developed first on their quality of work life, and the factors that should be promoted. The sample group of this research comprised of 135 teachers in primary schools, under Dusit District Office Bangkok Metropolis, in the Academic Year 2022, by Stratified random sampling. Instrument of this research were 7 summated rating scales with r item-total correlation .315 to .833, Alpha reliability (α) .786 to .898. The statistics for data analysis were descriptive statistics, and inferential statistics namely: t-test and multiple regression.
Research findings were: 1) relationship between psychological factors, and social situation factors and teachers’ work life quality were moderately high (r = .428 to .667) 2) psychological factors and social situation factors could predicted the teachers’ work life quality by 43.00% and 44.10% respectively, psychological factors collaborated with social situation factors could be explained the teachers’ work life quality by 57.40 %, and 3) the teachers who should be developed moreover first on the quality of work life were male teachers and assistant teachers combined with K1 teachers, the factors that should be promoted were the organizational atmosphere, readiness for work, innovative adoption, and mental health. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรปัจจัยด้านจิตใจและตัวแปรปัจจัยด้านสถานการณ์ทางสังคมกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู 2) ศึกษาการทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของครูด้วยกลุ่มตัวแปรด้านจิตใจและกลุ่มตัวแปรด้านสถานการณ์ทางสังคม และ 3) หากลุ่มครูที่ควรได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานก่อนและปัจจัยส่งเสริม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตดุสิต สังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 135 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดมาตรประมาณรวมค่า จำนวน 7 แบบวัด มีค่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อความกับคะแนนรวมทั้งแบบวัด (r item-total correlation) ตั้งแต่ .315 ถึง .833 มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ .786 ถึง .898 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ซึ่งได้แก่ สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตใจและปัจจัยสถานการณ์ทางสังคมกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู อยู่ในระดับปานกลาง (r = .428 ถึง .667) 2) กลุ่มปัจจัยทางจิตใจและกลุ่มปัจจัยสถานการณ์ทางสังคมทำนายคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูได้ร้อยละ 43.00 และ 44.10 ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มตัวแปรปัจจัยร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู ได้ร้อยละ 57.40 3) ครูที่ควรได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานก่อน คือ ครูเพศชายและครูผู้ช่วยรวมกับครู คศ.1 ปัจจัยที่ควรส่งเสริม คือ บรรยากาศองค์กร ความพร้อมเผชิญงาน การรับนวัตกรรม และสุขภาพจิต |
Description: | Master of Education (M.Ed. (Educational Administration)) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)) |
URI: | http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/619 |
Appears in Collections: | School of Management and Information Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62160083.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.