Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/618
Title: The Relationship Between the Instructional Leadership of the School Administrators and the Efficiency of Learning Management of the Teachers in PhraPariyattidhamma Schools (General Education) Group 1
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1
Authors: Anurak Judsee
อนุรักษ์ จุดสี
Vipaporn Poovatanakul
วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล
University of Phayao. College of Management
Keywords: ภาวะผู้นำทางวิชาการ
ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
Instructional Leadership
Efficiency of Learning Management
Issue Date:  17
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were to study: 1) the instructional leadership of Phrapariyattidhamma School administrators 2) the efficiency of learning management of Phrapariyattidhamma School teachers and 3) the relationship between the instructional leadership of school administrators and efficiency of learning management of teachers of Phrapariyattidhamma Schools. The sample consistsed of 194 teachers of Phrapariyattidhamma Schools (General Education) Group 1, school academic year 2021. The reliability of the whole questionnaire, used as an instrument was 0.983; the reliability of instructional leadership of the school administrators was at 0.979 and the reliability of the efficiency of learning management was at 0.957. The data were analyzed by descriptive statistics: percentage, mean, standard deviation and inferential statistics: Pearson’s Coefficient Correlation. The results of the study were as follows: 1) The instructional leadership of school administrators of Phrapariyattidhamma Schools (General Education) Group 1 as a whole and each aspect was in the high level ranging in order: providing incentives for learning, promoting professional development, communicating the school goals, framing the school goals, monitoring student progress, supervising and evaluating instruction, coordinating the curriculum, protecting instructional time and maintaining high visibility, 2) The efficiency of learning management of Phrapariyattidhamma School teachers (General Education) Group 1 as a whole and each aspect was at the high level ranging in order:planning and designing of learning management, measuring and evaluating learning management, managing classroom climate and learning activity management and 3) The relationship between the instructional leadership of School administrators and efficiency of learning management of teachers of Phrapariyattidhamma Schools had a positive correlation at the moderate level (r=0.649) with the statistical significance at 0.01 level.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 194 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.983; ค่าความเชื่อมั่นของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร เท่ากับ 0.979 และค่าความเชื่อมั่นของประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เท่ากับ 0.957 การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณาใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมานใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการให้การสนับสนุน กระตุ้นและให้กำลังใจแก่นักเรียนในการเรียน ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพครู ด้านการสื่อสารเป้าหมายของสถานศึกษา ด้านการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ด้านการนิเทศและประเมินผลการสอน ด้านการประสานงานหลักสูตร ด้านการพิทักษ์การใช้เวลาในการสอน และด้านการทำตัวให้เป็นที่พบเห็นอยู่เป็นนิจ 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r=0.649) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/618
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61162208.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.