Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/568
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPanpimol Sukwongen
dc.contributorพรรณพิมล สุขวงษ์th
dc.contributor.advisorAmornrat Wattanatornen
dc.contributor.advisorอมรรัตน์ วัฒนาธรth
dc.contributor.otherUniversity of Phayao. School of Educationen
dc.date.accessioned2022-07-25T07:39:44Z-
dc.date.available2022-07-25T07:39:44Z-
dc.date.issued16/4/2021
dc.identifier.urihttp://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/568-
dc.descriptionDoctor of Education Program (Ed.D.(Curriculum and Instruction))en
dc.descriptionการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.(หลักสูตรและการสอน))th
dc.description.abstractTo developing curriculum to enhance happiness with appreciative inquiry process for aging care-givers. This study was conducted through qualitative research and research and development. The four steps of the curriculum were as follows: Step 1 study of the basic needs of the elderly care of the community, Step 2 constructing curriculum and verifying curriculum quality, Step 3 Applying the curriculum with family care-givers, and Step 4 Evaluating curriculums. Data analyzed using non-parametric statistics and content analysis. The results can be summarized as follows: 1) The outcomes of the community's basic needs for caring for the elderly have 2 aspects: 1.1) elderly care and 1.2) the elderly care-givers.The results led to the consideration of designing a curriculum to enhance the happiness with appreciative inquiry process for aging care-givers. 2) Constructing curriculum and verifying curriculum quality. The curriculum comprises of 6 elements. It is a training course for 3 phases. The researcher used appreciative inquiry process in organizing the training activities at every stage. The examination of curriculum quality and course documentation by 7 experts found that the curriculum and supplementary documents were appropriate at high level. 3) The results of the curriculum application were found that; 3.1) All care-givers are knowledgeable. have increased attitudes and appreciation in caring for the elderly. 3.2) Care-givers are experienced and can apply it in real situations with happiness. And 3.3) Care-givers can choose to use technology for communication and counseling for appropriate elderly care practices. In addition, found the relationship between the participants in the community, families and communities have changed for a good, more positive relationship with each other and more generous society. 4) The evaluation of the curriculum were found that the caregivers saw that the training activities made themselves more knowledge about elderly care, feel happier and more self-worth. The stakeholders were of the view that the curriculum was practical and suitable for the context and lifestyle. Have a positive impact on both the elderly care-givers family and community. It was found an interesting point that the curriculum resulted in a caring relationship. More empathy and understanding among family members, neighbors, and community members.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสุขด้วยกระบวนการสุนทรียสาธกสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับ กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการพื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุของชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาการนำหลักสูตรไปใช้อบรมกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้หลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิตินอนพาราเมตริก ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการพื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุของชุมชน มี 2 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการดูแลผู้สูงอายุ และ 1.2) ด้านผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผลการวิจัยขั้นตอนนี้นำสู่การพิจารณาออกแบบการสร้างหลักสูตรเสริมสร้างความสุขด้วยกระบวนการสุนทรียสาธกสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร พบว่า หลักสูตรเสริมสร้างความสุขด้วยกระบวนการสุนทรียสาธกสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ เป็นหลักสูตรฝึกอบรม จำนวน 3 ระยะ ผู้วิจัยใช้กระบวนการสุนทรียสาธกในการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมในทุกระยะ การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน พบว่า คุณภาพหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการศึกษาการนำหลักสูตรไปใช้ พบว่า 3.1) ผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกคนมีความรู้ มีทัศนคติและเห็นคุณค่าในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 3.2) ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีประสบการณ์และสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างมีความสุข และ 3.3) ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและการให้คำปรึกษาในการดูแลผู้สูงอายุได้เหมาะสม นอกจากนี้ พบลักษณะสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนระหว่างผู้เข้าอบรม ครอบครัว และชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีสัมพันธภาพเชิงบวกซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดสังคมแบบเอื้ออารีเพิ่มขึ้น 4) ผลการประเมินผลการใช้หลักสูตร พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นว่าการอบรมทำให้ตนเองมีความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น มีความสุขและเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเห็นว่าหลักสูตรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและเหมาะสมกับบริบทวิถีชีวิต ส่งผลกระทบในทางบวกทั้งต่อผู้ดูแลผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน และยังพบประเด็นที่น่าสนใจ คือ หลักสูตรนี้ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพแบบเอื้ออาทร เห็นใจ และเข้าใจ ระหว่างคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน และคนในชุมชนมากขึ้น  th
dc.language.isoth
dc.publisherUniversity of Phayao
dc.rightsUniversity of Phayao
dc.subjectหลักสูตรฝึกอบรมth
dc.subjectการดูแลผู้สูงอายุth
dc.subjectการเสริมสร้างความสุขth
dc.subjectTraining Curriculumen
dc.subjectElderly Careen
dc.subjectEnhancing happinessen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleDEVELOPMENT OF CURRICULUM TO ENHANCE THE HAPPINESS WITH APPRECIATIVE INQUIRY PROCESS FOR AGING CARE-GIVERSen
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสุขด้วยกระบวนการสุนทรียสาธกสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุth
dc.typeDissertationen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58208575.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.