Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/564
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWoraprach Luangyoen
dc.contributorวรปรัชญ์ หลวงโยth
dc.contributor.advisorSanti Buranacharten
dc.contributor.advisorสันติ บูรณะชาติth
dc.contributor.otherUniversity of Phayao. School of Educationen
dc.date.accessioned2022-07-25T07:39:43Z-
dc.date.available2022-07-25T07:39:43Z-
dc.date.issued9/7/2021
dc.identifier.urihttp://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/564-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D (Educational Administration))en
dc.descriptionการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด. (การบริหารการศึกษา))th
dc.description.abstractThe purposes of this research were 1) to study the leadership factors of school administrators leadership and to examine the environment context and approaches to the development of school administrators leadership in the 21st century 2) to establish a strategies for the development of school administrators leadership in the 21st century. 3) evaluate strategies for the leadership development of school administrators in the 21st century. The research consists of 3 step. For step 1, study the leadership factors and to examine the environment context and approaches to the development of school administrators leadership. The sample consisted of 510 secondary school administrators and teachers. The research instruments were questionnaires. The data were analyzed by descriptive statistics and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The environment contexts and approaches to the development were using the SWOT analysis and content analysis. For step 2, establish a strategies for the development of school administrators leadership. The focus group discussion was organized among 9 experts to confirm the propriety standard of the strategies. For step 3, evaluate strategies for the leadership development of school administrators. The sample consisted of 129 secondary school administrators. The research instruments were questionnaires. Statistics employed for data analyses were mean and standard deviation. The research found that: 1) The leadership factors of school administrators in the 21st century consisted of 5 factors; 1.1) Technology and Communications 1.2) Vision 1.3) Creativity 1.4) Collaboration skills and 1.5) Ethical and moral. The leadership of school administrators in the 21st century as a whole was at the highest level. The SWOT analysis indicated that as for the internal contexts affecting school administrators have knowledge and skills in the use of technology was the most strengthening variables but lacked the knowledge and skills to use the English language were weakening variables. As for the external contexts, the community and local leaders take part in improving the quality of education was the supporting variable and political interference with educational policy was the threat variable. 2) The leadership development strategy of school administrators in the 21st century consists of 5 strategies, 11 sub-strategies, 59 measures and 51 indicators, which is the most propriety level. And 3) the evaluation of the feasibility and utility of strategies which are at a high level.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาสภาพบริบทและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กำหนดขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำ สภาพบริบทและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 510 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สภาพบริบทโดยการวิเคราะห์ SWOT Analysis แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตอนที่ 2 สร้างกลยุทธ์และตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ โดยการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านทักษะความร่วมมือ และด้านคุณธรรม ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สภาพบริบทการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า จุดแข็ง คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี จุดอ่อน คือ ผู้บริหารขาดความรู้และทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ โอกาส คือ ชุมชนและผู้นำท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อุปสรรค คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายอยู่เสมอ 2) กลยุทธ์ทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์ย่อย 59 มาตรการ 51 ตัวชี้วัด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มี ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากth
dc.language.isoth
dc.publisherUniversity of Phayao
dc.rightsUniversity of Phayao
dc.subjectกลยุทธ์การพัฒนาth
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษาth
dc.subjectภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21th
dc.subjectDevelopment Strategyen
dc.subjectSchool Administratoren
dc.subjectLeadership in 21st Centuryen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleLEADERSHIP DEVELOMENT STRATEGY OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN 21st CENTURYen
dc.titleกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21th
dc.typeDissertationen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58208171.pdf18.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.