Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/533
Title: INNOVATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS SCHOOL FOR EXPANDING EDUCATIONAL OPPORTUNITIES UNDER THE OFFICE OF LAMPANG PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
Authors: Pakin Kesana
ภาคิน เกษณา
Sunthon Khlal um
สุนทร คล้ายอ่ำ
University of Phayao. School of Education
Keywords: ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม
Innovative Leadership
Issue Date:  9
Publisher: University of Phayao
Abstract: The purposes of this research were 1) to study Innovative leadership of school administrator in the educational opportunity expansion schools, Lampang Primary Educational Service Area Office 1. 2) to compare the Innovative leadership of school administrator in the educational opportunity expansion schools, Lampang Primary Educational Service Area Office 1 by classifying educational background and work experience. The participates were the directors and the head of learning Department in the educational opportunity expansion schools, Lampang primary educational service area office 1 (23 schools). Utilizing the Krejcie and Morgan table, comparing the 199 persons of population size. The sample in this research consisted of 132 people. The questionnaires were conducted on a 5 point rating Likert scale. The statistics is used to analyze data were frequency distribution table, percentage, mean, standard deviation, T-test and One-Way ANOVA with statistical significance at .05 level. The results of this study were 1.) The innovative leadership of a school administrator in the educational opportunity expansion schools, Lampang Primary Educational Service Area Office 1. The overall was significant high .The seven aspects with the highest of mean were creating learning society, creative, risk management, team work, innovative organization, vision for change and the lowest is participation. 2) The comparison result of innovative leadership of school administrator in the educational opportunity expansion schools, Lampang Primary Educational Service Area Office 1 by Classifying learning society. The overall, there were some different opinions but when considered on each aspects, it was found that, there are 3 different in opinions including vision for change, team work and risk management and 4 aspects were not different. Moreover, the comparison results of work experience were found that both overview and all aspects had no different on opinions.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำนวน 23 โรงเรียน ใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เทียบขนาดของประชากรที่ 199 คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 132 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับระดับมากทั้ง 7 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการสร้างบรรยากาศสังคมแห่งการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม ด้านวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วม 2) จากผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกัน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริหารความเสี่ยง และไม่แตกต่างกัน 4 ด้าน และผลการเปรียบเทียบจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า ทั้งภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
Description: Master of Education (M.Ed. (Educational Administration))
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม. (การบริหารการศึกษา))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/533
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62206444.pdf7.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.