Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/370
Title: Potentiality of Cultural Tourism in Lopburi Province in Thai Tourist's Perception.
ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี ในการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
Authors: Pin-anong Kaewwaewnoi
ปิ่นอนงค์ แก้วแววน้อย
Chawalee Na thalang
ชวลีย์ ณ ถลาง
University of Phayao. College of Management
Keywords: ศักยภาพการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การรับรู้
จังหวัดลพบุรี
Potentiality
Cultural Tourism
Perception
Lopburi Province
Issue Date:  7
Publisher: University of Phayao
Abstract:           The purposes of this research were 1) To study behavior of Thai tourists in cultural tourism in Lopburi province. 2) To analyze the marketing mix factor of Thai tourists affecting the promotion of cultural tourism in Lopburi province. 3) To evaluate Thai tourists’ perception of cultural tourism in Lopburi province and 4) To purpose a development  guidelines on potential cultural tourist attraction for promoting cultural tourism in Lopburi province. This is a quantitative research collected questionnaire data of 400 Thai tourists visiting Lopburi province. The questionnaire data had analyzed in descriptive statistics of frequency, percentage, mean and standard deviation. For hypotheses testing by using the inferential statistics Chi–square, T-test, ANOVA or f-test. In case of statistical significance, the test will be done in pair with the Scheffe method and to determine statistical significance at 0.05 level.           The research result showed that 1) Thai tourists behavior  in cultural tourism in Lopburi province was for relax, traveled by their own car with 2-3 trips.They traveled during the weekend with their family or relatives and the trip cost was 3,001 – 5,000 baht per trip. The most popular tourist attractions were Wat Phra Si Rattana Mahathat, Wat Cherng Ta, Phra Prang Sam Yot and Phra Narai Palace. 2) The most 3 significant marketing mixed factors were promotion, place, and process. 3) There were 2 high level of Thai tourists’ perceptions of cultural tourism in Lopburi province which were the perception of tourism attraction location and of psychology. 4) The development guidelines on potential cultural tourist attraction: (1) Enhancing the access of cultural tourism attractions. (2) Increasing the tourist activities. (3) Providing more tourist facilities and (4) Managing tourism with active marketing strategy through daily and accessible media.
              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดลพบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในจังหวัดลพบุรี 3) เพื่อประเมินการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดลพบุรี 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีศักยภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ  การทดสอบสมมุติฐาน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test T-test One-way Anova or F-test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe ที่ค่าระดับ 0.05              ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการท่องเที่ยว ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เพื่อการพักผ่อน  เดินทางท่องเที่ยวด้วย รถยนต์ส่วนตัวและเคยมาแล้ว 2 – 3 ครั้ง มักเดินทางในวันหยุดเสาร์อาทิตย์  กับครอบครัวหรือญาติ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่อครั้ง 3,001 – 5,000 บาท สถานที่ท่องเที่ยวที่ชื่นชอบได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดเชิงท่า พระปรางค์สามยอด และ พระนารายณ์ราชนิเวศ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลมากสุดต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในจังหวัดลพบุรี มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านกระบวนการ 3) ผลประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีการรับรู้ระดับมากในด้านสถานที่โดยรวม และด้านจิตวิทยา 4) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีศักยภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ (1) ส่งเสริมให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีเส้นทางเข้าถึงง่าย (2) เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (3) เพิ่มมาตรการอำนวยความสะดวกบริเวณโดยรอบสถานที่ท่องเที่ยว และ (4) บริหารการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไปยังสื่อที่นักท่องเที่ยวใช้ในชีวิตประจำวัน  
Description: Master of Arts (M.A. (Tourism and Hotel Management))
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/370
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62160049.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.