Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/207
Title: An Approach to the extension of time staying at Bangsean of Thai tourist.
แนวทางการเพิ่มระยะเวลาพำนักค้างคืนของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ชายหาดบางแสน
Authors: Kunparee Nunpakdee
กุลปาลี หนุนภักดี
Pakamas Chairatana
ผกามาศ ชัยรัตน์
University of Phayao. College of Management
Keywords: พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
ส่วนประสมทางการตลาดบริการ
องค์ประกอบการท่องเที่ยว
การพักค้างคืนของนักท่องเที่ยวที่ชายหาดบางแสน
Tourism behavior
Marketing mix
Tourism element sufficiency
Overnight of tourist in Bangsean
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The study “An Approach to the Extension of Time Staying at Bangsean of Thai Tourist” aimed to 1) study demographic  characteristics of Thai tourist with behavior and reason  of traveling to Bangsean Beach, 2)  analyze  factors of service marketing mix and  tourism element of Thai tourists in Bangsean  Beach, 3) evaluate  factor of  tourism elements and service  marketing mix  in stakehoder’ s  perspective  and   4) propose  an approach to  the extension of time staying at Bangsean of Thai  tourist. This study was using both quantitative and qualitative research methods. The quantitative questionnaires will be collected from 384 Thai tourists who traveled to Bangsean Beach. The questionnaires data analysis will be based on the descriptive statistics: frequency, percentage, mean and standard deviation. The qualitative structured interview will be conducted to 17 stakeholders: 3 government informants, 8 travel private sector informants and 6 community informants. The qualitative data will be analyzed with the content analysis. The study result are shown as followed: 1) Majority of Thai tourists is single with Bachelor's Degree. The average age is between 20-29 years old and has no monthly income. 2) The purpose of traveling to Bangsean Beach is for swimming or relaxing .They traveled for a daytrip with their family , by their private motor vehicle,  more than 3 time a month and will repeat the trip.  3) The overall factors of service marketing mix was in high level, the most significant were  Physical evidence  and  Product.  4) Tourism elements (5A) data score was high in every aspect from  accessibility , activities, amenities, accommodation and attractions respectively. The reason of traveling to Bangsean Beach was having the travel companion on the special occasion and enjoy the atmosphere of Bangsean Beach. The qualitative data of the government and community informants on the tourism element indicated the importance of marine natural attractions, amenities and accessibility. The interview data of travel private sector indicated the most essential factor of service marketing mix was product, price and promotion respectively. The researcher proposed  an approach to  the extension of time staying at  Bangsean of Thai  tourist as follows; 1) Build more seaside bungalow or resort, on the available unutilized area  opposite site of the beach, to accommodate the big family or a group of 4 travelers to stay overnight at Bangsaen. 2) Create more tourist activities such as stargazing activity  on Sam Mook hill, Marathon race activity and car racing activity. These proposed activities will attract the tourists to stay overnight at Bangsean which will generate more revenue to all related parties in the area.  
การวิจัยเรื่อง แนวทางการเพิ่มระยะเวลาพำนักค้างคืนของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ชายหาด บางแสน  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับพฤติกรรมและเหตุผล ในการตัดสินใจพักค้างคืนที่ชายหาดบางแสน 2) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและองค์ประกอบการท่องเที่ยว จากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวชายหาดบางแสน 3) ศึกษาศักยภาพขององค์ประกอบการท่องเที่ยวและส่วนประสมการตลาดบริการของชายหาดบางแสน 4) นำเสนอแนวทางการเพิ่มระยะเวลาพำนักค้างคืนของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ชายหาดบางแสน การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวชายหาดบางแสนจำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลภาครัฐจำนวน  3 คน ภาคเอกชนจำนวน 8 คน และภาคประชาชนจำนวน 6 คน จำนวนรวม 17 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 20-29 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ส่วนใหญ่ยังไม่มีรายได้ 2) ข้อมูลพฤติกรรมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวชายหาดบางแสนเพื่อเล่นน้ำทะเลหรือพักผ่อนหย่อนใจ เดินทางมากับครอบครัว โดยรถยนต์ส่วนตัว มามากกว่า 3 ครั้งต่อเดือน ระยะเวลามาเช้า-เย็นกลับ และจะกลับมาท่องเที่ยวชายหาดบางแสนอีก 3) ความสำคัญของส่วนประสมการตลาดบริการกับการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ชายหาดบางแสน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกรายการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบ การท่องเที่ยวกับการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวชายหาดบางแสน ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกรายการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว รองลงมา คือ ด้านกิจกรรม ทางการท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว และเหตุผลในการตัดสินใจเดินทาง มาท่องเที่ยวชายหาดบางแสน พบว่า มีเพื่อนร่วมเดินทางในวันพิเศษของตนเอง มีความพร้อมด้านยานพาหนะ และชื่นชอบบรรยากาศของที่พื้นที่ชายหาดบางแสน การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องปัจจัยองค์ประกอบการท่องเที่ยวของพื้นที่ชายหาดบางแสนของผู้ให้ข้อมูลคือภาครัฐ และภาคประชาชน ให้ความสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลมากที่สุด รองลงมาคือสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการต่าง ๆ ในพื้นที่ ส่วนปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ผู้ให้ข้อมูลคือ ภาคเอกชนผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติทางทะเลมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการเพิ่มระยะเวลาพำนักค้างคืนของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่ชายหาด บางแสน ดังนี้ 1) เพิ่มสถานที่พักให้นักท่องเที่ยวแบบบ้านพักริมทะเลหลังเดี่ยวเป็นบังกะโลหรือรีสอร์ท เนื่องจาก มีพื้นที่ว่างเป็นลานกว้างอยู่ฝั่งตรงข้ามทะเลบางแสน สามารถเพิ่มทางเลือกให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวแบบครอบครัวใหญ่ หรือแบบผู้ร่วมเดินทางมากกว่า 4 คนขึ้นไป  2) ให้ความสำคัญด้านกิจกรรมเพิ่มเติมในพื้นที่ เช่น เพิ่มกิจกรรมการดูดาวยามค่ำคืนบนเขาสามมุก การวิ่งมาราธอน และกิจกรรมแข่งขันรถยนต์ แนวทางที่ผู้วิจัยนำเสนอสามารถเพิ่มระยะเวลาพำนักค้างคืนของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่ชายหาดบางแสน และส่งผลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น
Description: Master of Arts (M.A. (Tourism and Hotel Management))
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม))
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/207
Appears in Collections:School of Management and Information Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60160395.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.