Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/180
Title: Community Dispute Resolution of Administrator : A Case Study of Phayao Province
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับชุมชนของฝ่ายปกครอง : กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา
Authors: Marisa Yaemcharoen
มาริสา แย้มเจริญ
Wimonrekha Sirichairawan
วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ
University of Phayao. School of Law
Keywords: บทบาทของฝ่ายปกครอง
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ชุมชน
กฎหมาย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
administration
dispute resolution
the community
the law
the role of the administrator
Issue Date:  29
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objective of this research was to study the roles of the administrative officer in the resolution of disputes to resolve community conflicts. This study focused on investigating the roles, authorities, and duties in the mediation of the community disputes of district  and subdistrict chiefs as stipulated by the National Government Organisation Act (No. 7), B.E. 2550 (2007) and Ministerial Regulations on Mediation of Civil and Criminal Penalty Offenses, B.E. 2553 (2010). The Ministerial Regulation stipulates rules and qualifications for selecting mediators. The administrative department is considered as government agency that is close to the community and is authorized by the Act to resolve both civil and criminal disputes in the community. However, in reality, people still lack confidence or knowledge and understanding about the process of mediation of administrative officer. For these reasons, the roles of the administrative department have been minimized. Besides, the administrative officer do not have specialized knowledge and expertise. Therefore, the alternative dispute resolution is to rely on the regulations of the Ministry of Interior regarding the Conciliation Act of Village Committees, B.E. 2530 (1987) as the legal provisions to determine the roles of the village committees, such as village headman, and so on to act as the mediator in the community dispute. In addition, Dispute Resolution Act B.E. 2562 (2019) should be considered and applied as the effective way to resolve community conflicts tin order to increase a mediator’s capacity and the efficiency in mediation.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของฝ่ายปกครอง ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน โดยทำการศึกษาบทบาทอำนาจหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชนของนายอำเภอและกำนันที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่7) พุทธศักราช 2550 รวมทั้งกฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งและอาญา พุทธศักราช 2553 เป็นการบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และคุณสมบัติในการการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งฝ่ายปกครองถือได้ว่ามีความใกล้ชิดกับชุมชนและกฎหมายให้อำนาจในการยุติข้อพิพาทชุมชนได้ทั้งทางแพ่งและอาญา แต่ทว่าในความเป็นจริงประชาชนยังขาดความเชื่อมั่นหรือเข้าใจในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นผลกระทบจากกระบวนการอื่นๆ ทำให้บทบาทของฝ่ายปกครองลดน้อยลงและฝ่ายปกครองไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เฉพาะด้าน ดังนั้นทางเลือกคือ นำข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พุทธศักราช 2530 เป็นการกำหนดบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ในการทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน รวมถึงมีการนำพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มาพิจารณาปรับใช้และยึดเป็นแนวทางในการแก้ไขความขัดแย้งภายในชุมชนร่วมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ไกล่เกลี่ย และเพิ่มประสิทธิภาพในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมากขึ้น 
Description: Master of Laws (LL.M.)
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/180
Appears in Collections:School of Law

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59034652.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.