Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1010
Title: Administration of educational institutions according to the Sufficiency Economy Philosophy of Secondary Schools in Pong District, Phayao Province, under the Office of the Secondary Education Service Area 36
การบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
Authors: Saranrat Donmoon
สรัลรัชต์ ดอนมูล
Sunthon Khlal um
สุนทร คล้ายอ่ำ
University of Phayao
Sunthon Khlal um
สุนทร คล้ายอ่ำ
sunthon.kh@up.ac.th
sunthon.kh@up.ac.th
Keywords: การบริหารสถานศึกษา
ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนมัธยมศึกษา
School Administration
The Sufficiency EconomyPhilosophy
Secondary school
Issue Date:  15
Publisher: University of Phayao
Abstract: The Independent Study “ School Administration based on the Sufficiency Economy Philosophy of Pong District Secondary Schools, Phayao Province, under the Secondary Educational Service Area Office 36” aimed 1) to study School Administration based on the Sufficiency Economy Philosophy of Pong District Secondary Schools, Phayao Province, under the Office of Secondary Education Area 36 and 2) to investigate recommendations for school administration based on the sufficiency economy philosophy of Pong District Secondary Schools, Phayao Province, under the Secondary Educational Service Area Office 36. The sample was 80 informants consisting of administrators and teachers at secondary schools in Pong District, Phayao Province. The research instrument is a five-level estimation scale questionnaire. Statistics used in the research included percentage, average and standard deviation. Findings were as follows: 1) Regarding school administration based on the sufficiency economy philosophy of Pong District Secondary Schools, Phayao Province, under the Office of Secondary Education Area 36, overall, there was a high level of opinion descended order of average, i.e., the highest level of achievement school administration based on the sufficiency economy philosophy, high level of education management, a high level of student development activities, high level of curriculum and learning activities and a high level of personnel development 2) Recommendations school administration based on the sufficiency economy philosophy consist of 5 aspects: 2) In terms of educational management, schools should have a vision, mission and strategies in line with and integrated with the sufficiency economy philosophy and learning management skills in the 21st century, 2) in terms of curriculum and learning activities, basic education should be integrated in each subject group and local curriculum in learning management according to  the sufficiency economy philosophy and learning management skills in the 21st  century, 3) in terms of student development activities, learners should be developed to have learning skills in the 21st century by integrating with the sufficiency economy philosophy and activities to develop learners through projects, or learning activities, 4) in terms of personnel development, there should be meetings, training, seminars, a field trip to promote the application of the sufficiency economy philosophy in life and work, and 5) in terms of school management achievement according to the sufficiency economy philosophy, schools should be developed to be accepted as model for integrating schools according to the sufficiency economy philosophy and learning management skills in the 21st  century
การวิจัย หัวข้อ การบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 และศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง จังหวัดพะเยา จำนวน 80 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบถามแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 36 โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ สูงสุด ได้แก่ ด้านผลสัมฤทธิ์ การบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา ด้านการบริหารจัดการศึกษา รองลงมา ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รองลงมา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และน้อยสุด ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามลำดับ 2) จากการศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 36 พบว่า ด้านการบริหารจัดการศึกษาสถานศึกษาควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีการสร้างแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา รวมทั้งการนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีการบูรณาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละกลุ่มสาระ รวมทั้งบูรณาการกับหลักสูตรท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านโครงการ โครงงาน หรือกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาบุคลากร ควรมีการเสริมสร้างครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเป็นวิทยากรด้านการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านผลสัมฤทธิ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีการพัฒนาสถานศึกษาให้ได้รับการยอมรับเป็นแบบอย่าง หรือเป็นต้นแบบในการบูรณาการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1010
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62206578.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.