Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1001
Title: A  INNOVATIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT MODEL FOR ADMINISTRATORS OFRIVATE VOCATIONAL COLLEGES UNDER OFFICE OF THE VOCATIONALEDUCATION COMMISSION
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Authors: Kongnat Yamchuti
คงณัฐ แย้มชุติ
Sopa Umnuayrat
โสภา อำนวยรัตน์
University of Phayao
Sopa Umnuayrat
โสภา อำนวยรัตน์
sopa.am@up.ac.th
sopa.am@up.ac.th
Keywords: รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม
ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Model of Leadership Development
Innovative Leadership
Administrators of Private Vocational Colleges
Vocational Education Commission
Issue Date:  4
Publisher: University of Phayao
Abstract: The objectives of this study were to 1) examine the components and approaches of innovative leadership; 2) establish a model for innovative leadership development; and 3) assess the model for innovative leadership development. The research was divided into three steps. The first step was to investigate the components and approaches of innovative leadership. The sample included 205 Northern administrators from Private Vocational Colleges and five experts who were subjected to an exploratory inquiry, a confirmatory factor analysis, and interviews. The second step was to create a conceptual framework for constructing the model utilizing the information acquired in step one, and queries from five experts, ensuring that the initial model was adequate. The final step was to interview 43 Northern administrators from Private Vocational Colleges to assess the model's feasibility and practicability for innovative leadership development. The research instruments were mean, percentage, standard deviation, Confirmatory Factor Analysis, and content analysis. According to the research findings, 1) innovative leadership consisted of the following seven positive components: Vision for Change; Teamwork; Creativity; Participation; Social Learning Environment Building; Risk Management; and Innovative Organization's Atmosphere. This agreed with the empirical data. There are guidelines for developing innovative leadership. Using the quality management process (PDCA) and three innovative leadership development methods: Method 1: Self-development-based training planning, and Which included strategies for training the capacity to think, challenge to act; Method 2: Interaction with others to develop information and communication skills; and Method 3: Work experience-based development, and practice critical thinking and instructional approaches. 2) An overall model for innovative leadership development. The constructed model consisted of three parts: Components of Innovative Leadership, Guidelines for Developing Innovative Leadership, and Success Factors in Developing Innovative Leadership. and 3) Results of the evaluation of innovative leadership development models. Overall, it is possible and useful. at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ เชิงนวัตกรรม 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ เชิงนวัตกรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม โดยการสอบถาม การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการสัมภาษณ์ จากผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มภาคเหนือ จำนวน 205 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม โดยการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาเป็นฐานในการจัดทำกรอบแนวคิดสำหรับยกร่างรูปแบบ และการสอบถามเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม โดยการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบด้วยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มภาคเหนือ จำนวน 43 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ วิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วม การสร้างบรรยากาศสังคมแห่งการเรียนรู้ การบริหารความเสี่ยง และ บรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม ซึ่งมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืน โดยมีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ เชิงนวัตกรรม โดยใช้กระบวนการบริหารคุณภาพ (PDCA) และวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1: การพัฒนาตนเอง ได้แก่ การฝึกอบรม และวิธีการฝึกให้กล้าคิด กล้าทำ วิธีที่ 2: การพัฒนาผ่านผู้อื่น ได้แก่ วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิธีการพัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสาร วิธีที่ 3: การพัฒนาผ่านประสบการณ์ทำงาน ได้แก่ วิธีการสอนงาน และวิธีการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีการดำเนินการตาม 2) ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ เชิงนวัตกรรม ส่วนที่ 3 ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และ 3) ผลการประเมินรูปแบบ การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ภาพรวมมีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://202.28.20.112/dspace/handle/123456789/1001
Appears in Collections:School of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59207610.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.